top of page
shutterstock_1135083989.jpg

ขายฝาก ฝากขาย จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร? แบบไหนเหมาะกับคุณ

อัปเดตเมื่อ 26 เม.ย.

ขายฝาก ฝากขาย จำนอง จำนำ สารพัดคำศัพท์ชวนงง ฟังแล้วก็ยังสงสัยว่าต่างกันอย่างไร? แล้วแบบไหนที่เหมาะกับเรานะ วันนี้เรามาทำความเข้าใจของคำเหล่านี้กันดีกว่าค่ะ


ขายฝาก ฝากขาย จำนอง จำนำ ต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะกับคุณ

ไม่ว่าจะเป็นการ ขายฝาก ฝากขาย จำนอง จำนำ ทั้ง 4 คำ คือคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการทำสัญญาทางการเงินที่มีทรัพย์สินเป็นประกันการชำระหนี้ ต่างกันที่เงื่อนไขและประเภทของทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นประกันค่ะ


 

การขายฝาก คืออะไร?


การขายฝาก คือ การที่ผู้ขายฝากนำทรัพย์สินของตัวเองขายให้กับผู้ซื้อฝาก โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีเมื่อมีการทำสัญญา แต่ระหว่างนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ขายฝากนำเงินมาไถ่ถอนคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ซื้อฝากจะได้รับได้ดอกเบี้ยในแต่ละเดือน และได้รับเงินต้นคืนเมื่อถึงเวลาไถ่ถอน


ข้อดีของการขายฝาก

  • ทำนิติกรรมที่ดินที่สำนักงานที่ดิน มีความน่าเชื่อถือและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

  • ประเมินวงเงินสูงถึง 40-70% จากราคาประเมิน

  • ผู้ขายฝากได้รับเงินทันทีเมื่อทำสัญญา

  • ระยะเวลาขายฝากเริ่มต้นที่ 1 ปี และสามารถต่อเวลาได้ไม่เกิน 10 ปี

  • ดอกเบี้ยขายฝากต่ำ ไม่เกิน 15% ต่อปีตามที่กฏหมายกำหนด

  • ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน ใช้เพียงโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์สินในการค้ำประกัน

  • ผู้ขายฝากยังได้ครอบครองที่ดินและใช้ประโยชน์ได้จนกว่าจะพ้นกำหนด

  • สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินที่ตัวเองขายฝากได้ตามในระยะเวลากำหนดของสัญญาที่ตกลง


ข้อเสียของการขายฝาก

  • มีดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้กับผู้ซื้อฝากในแต่ละเดือน

  • มีค่าธรรมเนียมในอัตรา 2%

  • หากไม่สามารถไถ่ถอนคืนตามระยะเวลาที่กำหนด กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อทันที

  • ความปลอดภัยของทรัพย์สินขึ้นอยู่กับผู้ซื้อฝาก ถ้าเจอผู้ซื้อฝากที่ไม่ดี ต่อรองไม่ได้ และไถ่ถอนไม่ตรงเวลาที่กำหนดอาจทำให้โดนยึดทรัพย์สินไปเลย



 

การฝากขาย คืออะไร?


การฝากขาย คือ การที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ฝากขาย) ฝากให้ตัวแทน นายหน้า หรือบริษัทโบรกเกอร์ (ผู้รับฝาก) ช่วยขายทรัพย์สินให้ ซึ่งผู้รับฝากจะช่วยโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของทรัพย์สินสามารถขายได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น


โดยเจ้าของอทรัพย์สินจะเสียค่าคอมมิชชั่นให้ผู้รับฝากตามที่ตกลงกันไว้ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไม่ได้โอนไปให้ผู้รับฝาก แต่จะโอนให้ผู้ซื้อเมื่อขายทรัพย์สินสำเร็จ ซึ่งการฝากขายจะมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันตรงกันทั้งสองฝ่าย


ข้อดีของการฝากขาย

  • ไม่ต้องทำนิติกรรมที่ที่ดิน แต่เป็นการทำสัญญากับผู้รับฝากเท่านั้น

  • กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของเรา จนว่าจะเกิดการซื้อขายสำเร็จ

  • ค่าใช้จ่ายชัดเจนตามที่ตกลง จ่ายเมื่อการซื้อขายสำเร็จ

ข้อเสียของการฝากขาย

  • ได้รับเงินเมื่อการซื้อขายสำเร็จแล้วเท่านั้น ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้เงินเร่งด่วน

  • กำหนดการขายสำเร็จไม่ตายตัว ขึ้นอยู่อยู่กับหลายปัจจัย อาจจะขายได้หรือไม่ ก็ได้


 

การจำนำ คืออะไร?


การจำนำ คือ การทำสัญญากู้ยืมเงินที่มีทรัพย์สินเป็นประกัน โดยเป็นทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น รถยนต์ สมาร์ทโฟน แหวนเพชร สร้อยทอง เป็นต้น


แม้ระหว่างผ่อนชำระเงินคืนตามสัญญา ผู้รับจำนำมีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินที่จำนำ ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทรัพย์สินจนกว่าผู้จำนำจะมาชำระหนี้ไถ่ถอนคืน หากมีการผิดชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิ์ยึดทรัพย์สินได้ทันที


การจำนอง ต่างจาก การจำนำ อย่างไร


การจำนอง ก็เหมือนกับการจำนำ แต่ทรัพย์สินที่นำมาเป็นประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม เป็นต้น


การทำสัญญาจำนองที่ดินต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น และ

กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของผู้จำนองเช่นเดิม แต่ผู้จำนองไม่สามารถนำทรัพย์ไปทำธุรกรรมทางการเงินอื่นได้


ข้อดีของจำนอง

  • ทำนิติกรรมกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ที่สำนักงานที่ดิน

  • กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของเรา ไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองให้กับผู้รับจำนอง

  • สัญญาจำนองไม่มีขั้นต่ำ และกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาสูงสุดของการจำนองไว้

  • หากมีการผิดชำระหนี้ ไม่สามารถยึดทรัพย์สินได้ทันที ผู้รับจำนองต้องไปฟ้องกับศาล และหากจะนำทรัพย์ขายทอดตลาดต้องมีหนังสือบอกผู้จำนองล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน

ข้อเสียของการจำนอง

  • วงเงินค่อนข้างต่ำ ประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน


 

สรุปข้อแตกต่างของการขายฝาก ฝากขาย จำนอง



ขายฝาก

ฝากขาย

จำนอง

วงเงินกู้

40-70% ของราคาประเมิน

ขายตามราคาตลาด

10-30% ของราคาประเมิน

การรับเงิน

ได้รับเงินเมื่อทำธุรกรรมเสร็จ

ได้รับเงินเมื่อขายสำเร็จ

ได้รับเงินมื่อที่ทำธุรกรรมเสร็จ

การทำนิติกรรม

ณ กรมที่ดิน

ที่ใดก็ได้

ณ กรมที่ดิน

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์

บังคับมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ทันที

ไม่ต้องมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์

ไม่ต้องมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์

สิทธิการใช้ประโยชน์

ไม่มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน จนกว่าจะไถ่ถอนทรัพย์สินทั้งหมดออกไป

มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ทรัพย์สินต่อไปได้

มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ทรัพย์สินต่อไปได้

ระยะเวลาไถ่ถอน

กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินคืนได้นับแต่เวลาขายฝาก โดยกฎหมายกำหนดทรัพย์สินทั้ง 2 ประเภทไว้ว่า - อสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 10 ปี   - สังหาริมทรัพย์ ไม่เกิน 3 ปี 

-

กฎหมายการจดจำนอง ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในสัญญา ผู้จำนองสามารถชำระหนี้กับผู้รับจำนองจนกว่าจะครบยอดที่กำหนด

ค่าใช้จ่าย

ผู้ขายฝากต้องชำระดอกเบี้ยตามตกลงให้กับผู้ซื้อฝาก แต่ไม่เกิน 15% ต่อปี

ตามแต่ตกลง เมื่อการขายสำเร็จ

ผู้จำนองต้องชำระดอกเบี้ยตามตกลงให้กับผู้รับจำนอง แต่ไม่เกิน 15% ต่อปี

ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน

  • ค่าธรรมเนียมในอัตรา 2% ของราคาประเมิน

  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินที่ดิน

  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินที่ดิน หรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า (เฉพาะการขายฝากที่อยู่ในหลักเกณฑ์)

  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า แต่หากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับยกเว้นค่าอากรแสตมป์

-

  • ค่าธรรมเนียม ในอัตรา 1% ของวงเงินจำนอง

 

ถ้าหากคุณต้องการคำแนะนำ หรือต้องการฝากขาย ขายฝาก หรือ จำนองทรัพย์ของคุณ นิรันดร์พัฒนา ให้บริการเปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินให้คุณได้ทันที


ติดต่อเราได้ที่


โทร : 098 222 3289

LINE : @nirunpattana





Comentarios


bottom of page