1. ตรวจสอบแบบบ้านที่จะสร้างให้ดี ว่าเจ้าของบ้านมีความพึงพอใจหรือมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงแบบบ้านก่อนการดำเนินการสร้างบ้านหรือไม่ หากพบว่าแบบบ้านไม่ตรงตามความต้องการก็สามารถลดพื้นที่บางส่วนลงได้ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน ทั้งแบบบ้านชั้นเดียว และแบบบ้านสองชั้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ในการสร้างหรือตกแต่งห้องอื่นอีกด้วย
2. หากเจ้าของบ้านคำนึงถึงแบบที่ต้องการจะสร้างบ้านแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณในการสร้างบ้านนั้นค่อนข้างสูง ให้ทำการปรึกษากับบริษัทรับสร้างบ้านหรือปรึกษากับผู้รับเหมา เพื่อลดสเปกของวัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้าน หรือลดการตกแต่งแบบบ้านในบริเวณที่ไม่จำเป็นหรือต้องโชว์เพื่อความสวยงาม อาทิ ส่วนซักล้าง ส่วนครัว หรือห้องคนรับใช้ที่อยู่ด้านหลังบ้าน โดยสามารถเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ก่อสร้างให้มีราคาถูกลงได้ เช่น ลดการใช้ผนังอิฐมอญฉาบปูน มาเป็นผนังก่ออิฐบล็อคฉาบปูน หรือลดการใช้กระเบื้องด้วยการทำเป็นปูนขัดมัน เป็นต้น
3. นอกจากการคำนึงถึงงบประมาณที่ใช้ในการสร้างบ้านแล้ว ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงดูแล ซึ่งแบบบ้านชั้นเดียว กับแบบบ้านสองชั้น ทำการซ่อมแซมต่างกัน เพราะในบางครั้งค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านอาจไม่สูงเท่าค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุง หากสร้างบ้านผิดรูปแบบหรือผิดวิธี ดังนั้นก่อนการสร้างบ้านควรมีการคำนึงถึงผลที่ตามมาด้วย และหากเจ้าของบ้าน บริษัทรับสร้างบ้านพบว่าแบบบ้านที่จะทำการสร้างไม่เหมาะสม ให้ทำการเปลี่ยนวิธีสร้างหรือรูปแบบ เช่น เปลี่ยนระบบการทำสายไฟในท่อแบบฝังมาเป็นแบบเดินลอยบนผนัง ด้วยวิธีการร้อยใส่ท่อเหล็กแล้วทาสีทับให้ดูเรียบร้อย เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาและซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งการทำสายไฟในท่อแบบฝังผนังอาจดูเรียบร้อยก็จริง แต่เวลาซ่อมแซมหรือเดินสายไฟเพิ่มก็ต้องทุบผนัง ส่งผลให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
4. ใช้โครงสร้างบ้านให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ โดยเจ้าของบ้านควรให้บริษัทรับสร้างบ้านหรือสถาปนิกออกแบบโครงสร้างของบ้านให้เป็นเฟอร์นิเจอร์โดยใช้ประโยชน์จากส่วนโครงสร้างของบ้านอย่างช่องว่างระหว่างเสาติดแผ่นไม้ทำเป็นชั้นวางของ ติดประตูบานเลื่อนเพื่อกันฝุ่น หรือติดม่านกั้นแทนบานตู้ ซึ่งหากเจ้าของบ้านสามารถสร้างบ้านหรืออกแบบบ้านตามที่เราแนะนำได้เท่ากับว่าเจ้าของบ้านจะประหยัดงบประมาณในการสร้างบ้านและการทำเฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อินไปหลายหมื่น นอกจากนี้เจ้าของบ้านอาจให้ช่างหรือผู้รับเหมาก่อปูนสูงสัก 40 เซนติเมตร แล้วติดแผ่นไม้วางเบาะเพื่อทำเป็นม้านั่ง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยประหยัดงบประมาณในการสร้างบ้านและทำเฟอร์นิเจอร์
5. การออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการทำพื้น ในการสร้างบ้านและออกแบบบ้านพื้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้บ้านมีความสวยงาม น่าอยู่ หากเราเข้าใจวัตถุประสงค์การใช้งานที่ชัดเจนว่าควรเลือกใช้วัสดุตกแต่งแบบใดก็จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำพื้นได้เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น การเลือกใช้พื้นไม้จริงในส่วนที่ต้องการความสวยงามและต้องการโชว์ในส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้งานอาจจะเปลี่ยนเป็นไม้เทียมหรือวัสดุอย่างอื่น เช่น กระเบื้องเซรามิค กระเบื้องยาง หรือคอนกรีต เปลือยขัดมัน เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการลดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก
6. นอกจากการเลือกวัสดุตกแต่งบ้านให้เหมาะสมเหมาะสมกับการใช้งานแล้ว เรายังควรมีการเลือกสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับขนาดของบ้าน และจำนวนผู้อยู่อาศัย เพื่อลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เช่น การเลือกใช้เครื่องปรับอากาศ ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดของห้อง หรือตำแหน่งของปลั๊กและโคมไฟที่บางบ้านมี 40-50 จุด ก็เกินความจำเป็น และหลายครั้งที่เจ้าของบ้านต่างนิยมถามบริษัทรับสร้างบ้านของเราว่าจำนวนปลั๊กไฟเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ขอตอบง่ายๆเลยว่าให้สังเกตได้จากพฤติกรรมและการใช้งานเป็นสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็น
อย่างดี ทั้งในส่วนของเวลาที่ใช้ในการสร้างบ้านหรือค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการสร้างบ้านและค่าใช้จ่ายอื่นๆเกี่ยวกับบ้านในอนาคต
7. การเลือกใช้วัสดุราคาถูกก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน โดยทั่วไปแล้วควรเลือกใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศเนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าวัสดุที่ผลิตจากต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ก็ควรมีการพิจารณาว่าวัสดุที่เลือกใช้จะส่งผลในอนาคตหรือไม่ เพราะของถูกและดีไม่ได้มีเสมอไป ในส่วนนี้หากเจ้าของบ้านไม่มั่นใจว่าสามารถนำวัสดุดังกล่าวมาสร้างบ้านได้หรือไม่สามารถสอบถามกับพนักงานขาย หรือบริษัทรับสร้างบ้านได้โดยตรง แต่โดยที่วไปแล้วบริษัทรับสร้างบ้านจะนิยมแนะนำให้เจ้าของบ้านใช้ผนังเบาประเภทแผ่นซีเมนต์บอร์ด หรือยิปซั่มบอร์ด แทนการก่อผนัง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของวัสดุ แรงงาน และการประหยัดโครงสร้าง แต่ทั้งนี้แผ่นซีเมนต์บอร์ด หรือยิปซั่มบอร์ด เหมาะสำหรับการใช้งานภายในอาคารเท่านั้น และข้อดีของแผ่นซีเมนต์บอร์ด หรือยิปซั่ม
บอร์ด คือเมื่อนำมาตกแต่งโดยการทาสี หรือติดวอลล์เปเปอร์แทบจะไม่เห็นความแตกต่างว่าไม่ใช่ผนังจริง หากไม่สัมผัส
8. หลังจากการสร้างบ้านเสร็จสมบูรณ์เจ้าของบ้านควรมีการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพราะบ้านก็เปรียบเสมือนรถยนต์ เมื่อใช้งานนานวันเข้าย่อมมีวันเสื่อมสภาพหรือเสื่อมโทรม ดังนั้นเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยควรมีการหมั่นดูแลรักษาทำความสะอาด และซ่อมแซมบำรุงบ้านอยู่เสมอ โดยคอยตรวจดู ความเสียหายของบ้าน เช่น มีน้ำรั่วตรงจุดไหนบ้าง ตรวจสอบปลวกทุกๆ3 เดือน คอยหมั่น ตรวจตราทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกบ้านอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้บานปลายกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมาทีหลัง นอกจากนี้ควรมีการเก็บกวาดบ้านให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเข้ามาของสัตว์ดุร้าย หรือสัตว์เลื้อยคลาน
9. การเปลี่ยนแสงเพื่อปรับบรรยากาศภายในบ้าน สำหรับใครที่มีบ้านอยู่แล้วแต่ต้องการทำให้บ้านมีบรรยากาศที่เปลี่ยนไป สามารถปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในบ้านด้วยการเปลี่ยนสีหลอดไฟ เช่น จากของเดิมเป็นหลอดนีออนสีขาว สามารถเปลี่ยนมาใช้เป็นหลอดไฟแสงส้มหรือที่เรียกว่าแสงไฟสี Warm White เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศภายในบ้าน เพราะหลอดประเภทนี้จะให้ทั้งแสงที่อบอุ่น โรแมนติก อีกทั้งยังประหยัดไฟมากกว่าแสงสีขาว แต่ถึงอย่างไรแสงสีส้มก็สามารถติดตั้งได้เฉพาะบางห้องเท่านั้น เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งแสงประเภทนี้ภายในห้องครัว ห้องทำงาน เนื่องจากแสงสว่างประเภทนี้จะให้ค่าความสว่างที่ต่ำกว่าแสงสีขาว ซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่อสายตาหากติดตั้งแสงประเภทนี้ภายในห้องทำงานและห้องครัว เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
10. ลดการซื้อของตกแต่งบ้านด้วยการประดิษฐ์และตกแต่งของต่างๆด้วยตัวเอง เช่น การนำโคมไฟธรรมดาๆมาบุผ้าตรงเฉดให้ดูหรูหราขึ้น หรือการทำราวแขวนของสุดเก๋สไตล์ลอฟท์ที่ทำจากท่อเหล็ก หรืออาจจะนำโซฟาเก่าไปเสริมและหุ้มเบาะใหม่ ก็ถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเงินได้มากทีเดียว นอกจากนี้การประดิษฐ์และตกแต่งบ้านเองยังช่วยเปลี่ยนบรรยากาศภายในบ้านได้อีกด้วย
แหล่งที่มา http://www.array.co.th
Comments